วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดสื่อมวลชนเพื่อการศึกษา

แบบฝึกหัดสื่อมวลชนเพื่อการศึกษา

1.           สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ  6 ประเภท คือ 1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
     2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
     3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
     4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
     5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
     6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว

2.           คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ  ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด


3.           ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ
ตอบ หนังสือ พิมพ์ หนังสือพิมพ์สามารถให้ประโยชน์ด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง ดังนี้
                                    ก. ช่วยฝึกทักษะในการอ่าน
                                    ข. ให้ผู้อ่านได้ศึกษา วิเคราะห์ และวิจารณ์ข่าวสาร
                                    ค. ให้ความรู้เบื้องต้น
                                    ง. ให้ข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ประจำวัน
                                    จ . เป็นเครื่องวัดระดับความรู้และความสนใจของชุมชน
                                    ฉ. สามารถเก็บหนังสือพิมพ์เป็นหลักฐานในการค้นคว้าอ้างอิง




แบบฝึกหัดโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา

 

แบบฝึกหัดโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา
1.         โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
    ตอบ   การส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เสียงโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง ดาวเทียม เป็นต้น ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ
2.การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจง ยกตัวอย่างประโยชน์ของ Facebook
ตอบ ประโยชน์ของการใช้ Facebook เช่น สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นที่อยู่ไกลกันได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น, เป็นสถานที่อ่าน ข่าวสาร บทความ หนังสือ , เป็นสื่อการเรียนการสอน, เป็นส่วนของการสอนหนังสือออนไลน์ ผ่านระบบเครือข่าย ,เป็นสื่อที่สามารถติดต่อกันได้อย่างสะดวก สบาย และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นต้น
3.นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีใดบ้าง
ตอบ ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชั่นส์ ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็ สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือนกับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ
4.ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  1. ประโยชน์ทางด้านการศึกษาในระบบโรงเรียน คือ เป็นการจัดการศึกษา ตาม หลักสูตรการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนต่างๆ ในรายวิชาที่ขาดแคลนครูผู้สอน หรือเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาก โรงเรียนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการฯ สามารถทำได้ โดยจัดหาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ตามตารางเวลาที่ออกอากาศ

2.ประโยชน์ทางด้านการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย คือ เป็นการจัดการศึกษา เพื่อให้ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป (Informal Education) การจัดการศึกษาผ่านดาวเทียม เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัยนี้ กำหนดเนื้อหารายการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน และ ความต้องการของประชาชน ในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน

1.           นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc

         และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม

 
ตอบ   มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี และได้ร่วมกับกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาและสังกัดหน่วยงานอื่นๆจำนวน 3,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ทางช่อง 11-16(UBC) โดยกองทัพบก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันโดยเสด็จพระราชกุศลเป็นการพระราชทานการศึกษาไปสู่ปวงชนและกำลังดำเนินการขยายไปสู่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติตามลำดับ รวมทั้งการออกอากาศรายการภาคภาษาอังกฤษทางช่อง 17 (UBC) สำหรับบุคคลที่สนใจ ประเทศเพื่อนบ้าน และชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การระหว่างประเทศ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถานเอกอัครราชทูต ซึ่งจะเริ่มออกอากาศในต้นปี พ.ศ.2545เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติต่อเนื่อง สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยได้พิจารณาเห็นว่า การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเตอร์เนตควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของมูลนิธิฯ จะเป็นประโยชน์ต่อ การขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียนที่จะมีโอกาสได้เรียนรู้ตามอัธยาศัยสำหรับประชาชนทั่วไป นักศึกษาผู้ใช้อินเตอร์เนต (internet) ในประเทศ และมิตรประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เป็นการประหยัดในการค้นคว้าข้อมูลจากรายการการศึกษาทางไกลของมูลนิธิฯ ประหยัดเวลาในการบันทึกเทป ประหยัดเทปและงบประมาณ ยิ่งไปกว่านั้น สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาเห็นว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม วังไกลกังวล มีความพร้อมและเหมาะสมกว่าที่อื่นในการเกื้อกูลระบบ e-Learning ให้ประสบผลสำเร็จได้ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) บริษัท แอ๊ดว้านซ์วิชั่นซิสเท็มส์ จำกัด บริษัทเทเลแซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงร่วมกันเฉลิมพระเกียรติ จัดทำระบบ e-Learning ให้แก่มูลนิธิฯ ในต้นปี พ.ศ.2545 นี้ เท่ากับว่า ผู้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนจากการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยศึกษาผ่านอินเตอร์เนตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเรื่องเนื้อหาวิชา (free-of-charge web-based information content) ทั้งในลักษณะ Live Broadcast และ On Demand

6.      ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog

 








 



วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี

                  การศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี
เมื่่อวันอังคารที่ 10 กรกฏาคม 2555  ว่าที่ร้อยตรี ดร.อุทิศ บำรุงชีพ ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำวิชาเทคโนโลยีการศึกษา 400202 ได้พานิสิตคณะศึกษาศาสตร์  สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศตร์ทางทะเล โดยได้รับความรู้เกี่ยวกับ  สื่อประสบการณ์ในการเรียนรู้ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีอะไรบ้าง สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลใช้เทคโนโลยีอะไรบ้างในการให้ความรู้ผู้เยี่ยมชม และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบนิเวศใต้ทะเล  โดยมีวิทยากรคอยแนะนำและให้ความรู้ 

              ภาพแบบจำลองของตัวอย่างปลาฉลาม  ที่ชั้น 2  ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล






ตู้จัดแสดงพันธ์สัตว์นำ้
ขอขอบคุณว่าที่เรือตรี อุทิศ  บำรุงชีพและพี่วิทยากรที่นำชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ในวันนี้ด้วยค่ะ


วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาพการอบรมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา วันที่ 5กรกฎาคม 2555


                                           ภาพการอบรมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
                               สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา   วันที่ 5กรกฎาคม 2555   
        


                    วิทยากรได้ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าต่างๆในหอสมุด  เช่น ระบบสืบค้นวัสดุสารสนเทศ (Web OPAC) การสืบค้นข้อมูลโดยการใช้ฐานข้อมูล EBSCO การสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ วิจัย บทความต่างๆ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศโดยใช้ระบบ ThaiLIS TDC เป็นต้น 

ที่สำนักหอสมุด มีบริการสารสนเทศในรูปเเบบต่างมากมาย อาธิ เช่น หนังสือทั้งภาษาไทยเเละภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออ้างอิง สื่อโสตทัศน์ ชุดศึกษา VCD DVD ต่างๆ เทปเสียง รายการโทรทัศน์ผ่านดามเทียม บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ อีก ได้่เเก่ การนำชมหอสมุด การฝึกอบรมการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ Book Showroom มุมคุณธรรม บรืการห้องศึกษากลุ่ม-เดี่ยว ห้องมินิโฮมเธียเตอร์


                  ชั้นที่ 1 บริการเกี่ยวอาหาร เครื่องดื่ม และมีโต๊ะให้นั่งทำกิจกรรมหรืออ่านหนังสือ
                                             ชั้นที่ 2    Book Showroom @  สำนักหอสมุด

        ชั้น3, 4, 5 บริการหนังสือทั้งภาษาไทยเเละภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง ฯลฯ


ชั้นที่ 6 บริการในเรื่องสื่อโสตทัศน์ เทปเสียง ชุดศึกษา VCD DVD ต่างๆ รายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม  บริการอินเทอร์เน็ต ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ ฯลฯ

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด หลักทฤษฎีการสื่อสารกับเทคโนโลยีการศึกษา


การบ้านประจำวันที่18-24มิ.ย.2555

ประเภทเทคโนโลยีการศึกษา

หลักทฤาฏีทางการศึกษา

1.ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ   4 ประเภท

1. สื่อโสตทัศน์

2. สื่อมวลชน

3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมคอมพิวเตอร์

4. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ

2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ

3ประเภท

1.สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย


2.สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย


3.สื่อประเภทเครื่องเสียง


3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์ เป็นของนักการศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย

    

เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้ จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสต ทัศนูปกรณ์ และแสดงเป็นขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อ นำมาสร้างเป็นกรวยประสบการณ์” (Cone of Experience ) แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

1. ประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานที่จริง
2.
ประสบการณ์รอง ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด
3.
ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร
4.
การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย
5.
การศึกษานอกสถานที่ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน
6.
นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ
7.
โทรทัศน์ ใช่ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดหรือวงจรปิด การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดิทัศน์
8.
ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม
9.
การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน
10.
ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ
11.
วจนสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด



4. การสื่อสารหมายถึงอะไร

-เป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนเรื่องราว ความต้องการ ความคิดเห็น ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ ผ่านสื่อ-ช่องทาง
-
ระบบเพื่อการติดต่อ รับส่งข้อมูลซึ่งกันและกัน

5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด จงอธิบาย

ในองค์ประกอบของ ของการสื่อสาร เพราะ สื่อและเทคโนโลยีการศึกษานั้น เป็นตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน







6. จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ




ผู้ส่ง (Source) -> ข้อมูลข่าวสาร(Message) -> ช่องทาง (Channel) -> ผู้รับ (Receiver) ทักษะในการสื่อสาร

7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง

1. คำพูด (Verbalisn)

2. ฝันกลางวัน (Day Dreaming)

3. ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง (Referent Confusion)

4. การรับรู้ที่จำกัด (Limited Perception)

5. สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย (Physical Discomfort)

6. การไม่ยอมรับ (Inperception)

8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่เชื่อมต่อระหว่างผู้เรียนและการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์




9. ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล

10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด

เป็นการสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายเทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา.











             เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: educational technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่าง ๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน




             เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้

ความคาดหวังต่อรายวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา

ความคาดหวังต่อรายวิชา เทคโนโลยีทางการศึกษา

1. สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง
2.สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้
3.สามารถรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีได้รวดเร็วขึ้น